สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 7-11 มี.ค.59

ข่าวสัปดาห์ 7 - 13 มี.ค. 59

 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 

          ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้  มีดังนี้
          ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.59 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.15 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.36
          ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.98 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63
          ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน
ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 359.92 เซนต์
(5,038 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 354.64 เซนต์
(4,998 บาท/ตัน)
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 40.00 บาท

7 - 13 มีนาคม 2559

 

ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 45.21 บาท/กิโลกรัม

 

ยางพารา

 

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

          ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้า เนื่องจาก ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงตามฤดูกาล โดยหลายพื้นที่เริ่มหยุดกรีดในช่วงฤดูยางผลัดใบ ผู้ประกอบการเร่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อเก็บสต็อก โดยสต๊อกยางจีนอยู่ที่ 281,144 ตัน (ณ 11  มีนาคม  2559)  ร้อยละ 0.42 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ลงนามสัญญาก่อสร้างโครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา ระยะที่ 2/2 และ 3 ซึ่งคาดว่าโครงการฯ จะดำเนินการก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลา 720 วัน หรือปี 2561 และลงนามบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และนิคมฯ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมยางพารา ส่งเสริมการประกอบกิจการยางแปรรูปครบวงจร และสนับสนุนการลงทุนด้านสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการในนิคมฯยางพารา

 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 

1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.87 บาท เพิ่มขึ้นจาก 36.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 3.41 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.35

2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.37 บาท เพิ่มขึ้นจาก 35.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 3.41 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.48

3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.87 บาท เพิ่มขึ้นจาก 35.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 3.41 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.68

4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.02 บาท เพิ่มขึ้นจาก 17.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.76 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.40

5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.08 บาท เพิ่มขึ้นจาก 14.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.19 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.99

6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.34 บาท เพิ่มขึ้นจาก 34.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.75 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.06

ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4, ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และยางแผ่นดิบคละ

 

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2559

ณ ท่าเรือกรุงเทพ

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.00 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.08 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.34

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.85 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.08 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.54

3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.25 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.70 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.31

4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท เพิ่มขึ้นจาก 29.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.03 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.77

 

ท่าเรือสงขลา 

1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.75 บาท เพิ่มขึ้นจาก 48.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.08 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.38

2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.60 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.08 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.59

3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท เพิ่มขึ้นจาก 41.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.70 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.38

4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.75 บาท เพิ่มขึ้นจาก 29.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.03 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.83

 

2.  สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
          ราคายางพาราซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์และโตเกียวปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลงตามฤดูกาล ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และแรงหนุนจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งการที่รัฐบาลจีนประกาศว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนระยะ 5 ปี และได้เตรียมดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพิ่มเติมเพื่อพยุงเศรษฐกิจจีนไม่ให้หดตัว นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนยังมีมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพื่อคงสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ ขณะที่องค์กรรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลจีน คาดว่า ปริมาณการบริโภคยางในจีนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 6 ต่อปี  ในช่วงปี 2016-2020 เป็นผลจากการขยายตัวของจำนวนรถยนต์ใหม่ และนักลงทุนขานรับการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรสู่ร้อยละ 0 และลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับ ECB สู่ร้อยละ - 0.4 เพื่อสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจ และเพิ่มวงเงินซื้อพันธบัตรตามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) สู่ระดับ 8 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซน และช่วยเร่งให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายที่ระดับใกล้ร้อยละ 2.0
          ยางแผ่นรมควันชั้น 3
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.73 เซนต์สหรัฐฯ (46.97 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 128.64 เซนต์สหรัฐฯ (45.55 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 4.09 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.18
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.73 เยน (47.29 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 147.42 เยน (45.91 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 4.31 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.92

                                                                                                                                            ข่าวรายสัปดาห์ 7-13 มี.ค. 59

ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

          ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

 

          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

          ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
           ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ

          คาดการณ์ว่าผลผลิตถั่วเหลืองสหรัฐอเมริกามีประมาณ 99.80 ล้านตัน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่แล้ว เนื่องจากการปรับแก้ปริมาณผลผลิตของรัฐ เซาท์ คาโรไลนา สต็อกปลายปี 2558/59 คาดว่ามีจำนวน 11.68 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.25 ล้านตัน จากเดือนที่แล้ว เนื่องจากการสกัดน้ำมันลดลง การค้าถั่วเหลืองคาดว่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง การสกัดน้ำมันลดลง 0.25 ล้านตัน เหลือ 47.50 ล้านตัน เนื่องจากการคาดคะเนว่าการใช้กากถั่วเหลืองภายในประเทศจะลดลง
          การนำเข้ากากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สืบเนื่องมาจากการสกัดน้ำมันที่ลดลง แต่คาดว่าสต็อกน้ำมันถั่วเหลืองปลายปี 2558/59จะเพิ่มขึ้น 120ล้านปอนด์ จากเดือนที่แล้ว กลายเป็น 2,185ล้านปอนด์
โดยมีปริมาณเท่ากับสต็อกต้นปี และคาดว่าการส่งออกจะลดลงมากกว่าการลดลงของผลผลิต โดยมีการปรับปรุงข้อมูลสต็อกน้ำมันถั่วเหลืองของปี 2557/58 ตามที่ได้รายงานไว้ในรายงานสรุปการสกัดน้ำมันของ
Oilseed เดือนมีนาคม 2558 ราคาถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองลดลงในเดือนนี้ ราคาเฉลี่ยตามฤดูกาลของสหรัฐอเมริกา ปี 2558/59
คาดว่าจะเป็น 8.25 ดอลลาร์ต่อบุชเชล ลดลง 5 เซนต์จากค่าเฉลี่ย ราคากากถั่วเหลืองคาดว่า 270-300 ดอลลาร์ ต่อตัน ลดลง 5 ดอลลาร์ จากค่าเฉลี่ย ราคาน้ำมันถั่วเหลืองคาดว่า 28.5-31.5 เซนต์ต่อปอนด์ ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดือนที่แล้ว
 
          ราคาในตลาดต่างประเท(ตลาดชิคาโก)
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 876.93 เซนต์ (11.45 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 852.60 เซนต์ ( 11.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.85

           ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 269.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.59 บาท/กก.)
สูงขึ้นจากตันละ
259.53 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 9.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.89    

          ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.13 เซนต์ (24.39 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 30.38 เซนต์ ( 20.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.47

 

หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

ข่าวสัปดาห์ 7-13 มี.ค. 2559

  

ฝ้าย 

 

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ

          ราคาที่เกษตรกรขายได้

          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

           ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 56.95 เซนต์ (กิโลกรัมละ 44.64 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 57.64 เซนต์ กิโลกรัมละ 45.58 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.94 บาท

 

ข่าวสัปดาห์ 7-13 มี.ค. 2559

ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ

     ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.79 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.11
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 ข่าวสัปดาห์ 7-13 มี.ค. 2559

ถั่วเขียว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.49 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 37.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 30.11
          ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
          ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,109.60 ดอลลาร์สหรัฐ (38.98 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,101.20 ดอลลาร์สหรัฐ (38.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ
0.02 บาท
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 937.60 ดอลลาร์สหรัฐ (32.94 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 919.80 ดอลลาร์สหรัฐ (32.53 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ
0.41 บาท
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,103.60 ดอลลาร์สหรัฐ (38.77 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,073.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.85 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.82 บาท

สับปะรด
 

ผลผลิต เพิ่มขึ้น

          ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดในเดือนมีนาคม 2559 ประมาณ 0.191 ล้านตัน หรือร้อยละ 10.07 ของปริมาณผลผลิตรวม 1.898 ล้านตัน โดยเพิ่มขึ้นจาก 0.172 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 11.05 และเพิ่มขึ้นจาก 0.184 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.80
การส่งออก เพิ่มขึ้น
          ปี 2559 (เดือนมกราคม) มีการส่งออกสับปะรดสด และผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.172 ล้านตันสด เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.144 ล้านตันสด ในปี 2557 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.44

ราคา ลดลง

          เนื่องจากปริมาณผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นประกอบกับพื้นที่ปลูกสับปะรดได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตบางส่วนไม่ได้คุณภาพ ส่งผลให้โรงงานแปรรูปปรับราคารับซื้อลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ มีดังนี้
          - สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 10.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.69 แต่เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.67 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.83

          - สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 13.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.82 แต่เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.37 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 6.95

7 - 13 มี.ค. 2559

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
     ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรใกล้เคียงและสอดรับกับความต้องการบริโภคที่ทรงตัว แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.22 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.66 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.41 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 67 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 2,000 บาท (บวกลบ 67 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ  
     ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
 

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
     สถานการณ์ไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 39.02 ภาคกลางกิโลกรัมละ 37.68 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 41.10 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

     สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคอยู่ในระดับเดิม แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 294 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 293 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 302 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 301 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 321 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 343 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 341 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 336 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
  

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 106.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 107.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 109.80 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 106.36 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 99.56 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 114.29 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 84.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.78 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
มันสำปะหลัง